งานสถาปัตยกรรม 10 กันยายน 256112 กันยายน 2018Jetsada Tangjaroenเกี่ยวกับวัดราชาธิวาส พระอุโบสถ พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทิศใต้ถนนที่ผ่ากลางวัด เป็นทรงขอมคล้ายนครวัด แต่เป็นลวดลายปูนปั้นผินหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งมีแน่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นทางสัญจรสำคัญครั้งโบราณเป็นหน้าวัด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงออกแบบ ด้านหน้ามีประตู ๓ ช่อง มีห้องเป็น ๓ ตอน ห้องหน้าเป็นระเบียง ห้องกลางเป็นห้องพิธี มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระประธาน มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น (ร. ๕ หล่อพระราชทาน) หลังพระประธานเป็นซุ้มคูหา เบื้องบนมีภาพพระพุทธเจ้าอยู่เหนือเมฆกำลังตอบปัญหาของพระสารีบุตรและพระอินทร์เฝ้า ที่ใกล้พระประธานมีรูปศากยกษัตริย์พระประยูรญาติมาเฝ้าอยู่เบื้องหลัง ซุ้มคูหาเป็นตราประจำ ๕ รัชกาล คือ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ บนเพดานเป็นลวดลายมีดาวเป็นที่เสียบหลอดไฟฟ้า ผาผนังทั้ง ๓ ด้าน มีภาพเขียนเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ เขียนโดยนายช่างชาวอิตาเลียนชั้นศาสตราจารย์ชื่อ “ริโคลี” บานประตูหน้าต่างทุกบานลายรดน้ำ ทรงข้าวบิณฑ์ ด้านในเป็นภาพเทวรูปทุกช่อง ตอนหลังสุดมีผนังห้องและประตูผ้าม่านผ่านถึงตอนที่ ๓ ห้องนี้เป็นที่ประดิษฐ์พระประธานองค์เดิมของวัดนามว่า “พระสัมพุทธวัฒโนภาส” ความสำคัญของพระประธานองค์นี้ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกั้นห้องพระอุโบสถออกเป็น ๓ ตอน ด้วยทรงพระราชปรารภว่า จะทรงประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี อันเป็นที่สักการะของพระบรมชนกาธิราช ประจำพระอุโบสถหลังนี้ แต่ก็เป็นไปไม่ได้ เนื่องด้วยพระสัมพุทธพรรณี ได้ไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นที่เหมาะสมอยู่แล้ว จึงได้ทรงจำลององค์ใหม่ขึ้นแทน แต่ก็มีปัญหาว่า พระประธานองค์เดิม ควรจะเชิญไปไว้ ณ ที่ใด และได้ทรงพระราชดำริว่า ถ้าย้ายไปก็จะเป็นเสมือนหนึ่งไล่เจ้าของเดิม จึงได้ทรงกั้นห้องพระอุโบสถออกเป็นห้อง ๆ เพื่อจะได้ประดิษฐานพระพุทธรูปไม่ระคนกันนับว่าเป็นพระราชดำริอันสุขุมคัมภีรภาพ ใต้ฐานชุกชีแห่งพระสัมพุทธพรรณีล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระราชสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ ไว้ นอกจากนั้นในรัชกาลปัจจุบัน ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร สมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าไว้อยู่ภายใต้ฐานชุกชีพระสัมพุทธวัฒโนภาส และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุเส้นพระเกศาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ด้วยพระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ (ร.ศ. ๑๒๗) FacebookTwitterGoogle PlusLine